ขายฝากที่ดิน หลักการสำคัญของการขายฝากที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
หลักการสำคัญของการ ขายฝากที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์
การขายฝาก หรือการขายฝาก ขายฝากที่ดิน และอังหาริมทรัพย์ คือ การทำสัญญาการซื้อขายกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินที่ตกไปยังผู้ซื้อ โดยการทำสัญญานั้นต้องมีการทำข้อตกลงกันว่า ผู้ขายนั้นสามารถที่จะทำการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคือได้ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน หรือที่ดินที่ได้นำไปทำการขายฝาก นั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
การขายฝาก เป็นการนำทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น บ้าน หรือ ซื้อ ที่ดิน ไปขายให้แก่บุคคลอื่นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อถึงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้แล้ว ผู้ขายฝากจะมีสิทธิได้ไถ่ถอน แต่หากเกินระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้แล้วนั้น ผู้ขายฝากก็จะเสียกรรมสิทธิ์ทันที
หลักของการขายฝาก ที่ดิน อยู่ที่มีการส่งมอบการครอบครองโดยตรง ให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกรรมสิทธิ์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ขายฝากจะมีกรรมสิทธิ์ที่จะสามารถไถ่ถอนทรัพย์สิน บ้าน หรือที่ดินได้ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ยังฝาก ขายที่ดิน กันอยู่ และกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากอาจจะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำอย่างใดก็ได้ ผู้ขายฝากหรือผู้อื่นไม่มีสิทธิห้ามปรามส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายจะมีการทำสัญญาลักษณะปีต่อปี เพื่อหลีดเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการฝากขายที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไว้
แต่ในการทำสัญญาการขายฝากนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการขายฝาก นั้นต้องทำการโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก ดังนั้นการขายฝากจึงต้องทำการส่งมอบ ทรัพย์สินต่างๆให้แก่ผู้รับซื้อฝาก เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดชำระหนี้หรือการไถ่ถอนตามกำหนดระยะเวลาแล้ว ผู้ขายฝากไม่ทำการชำระหนี้หรือผู้ขายฝาก ไม่ทำการจ่ายหนี้ทรัพย์สิน ที่ทำการฝากขายนั้นจะกลายเป็นของผู้รับฝากโดยทันที ผู้ซื้อฝากสามารถ ยึดทรัพย์ได้เลยทันที ปรึกษาเพิ่มเติมที่ Supsin
ดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ทั้งการขายฝากและการจำนอง คือดอกเบี้ยไม่เกิน 15 % ต่อปี และในการขายฝากและการจำนองนั้น จะต้องไปดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่กรมที่ดินเท่านั้น
การขายฝากนั้นไม่ว่าจะเป็น การขายฝากที่ดิน ขายฝากบ้าน ขายฝากอาคารพาณิชย์ ขายฝากตึกแถว หรือขายฝากทาวเฮาส์ ก็ทำการขายฝากได้ เจ้าหน้าที่จากกรมที่ดิน จะเป็นผู้ประเมิน ดำเนินการทำสัญญา ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมด ที่ต้องใช้ในการทำสัญญาขายฝาก และเจ้าหน้าที่จะทำการพิมพ์หลังโฉนดที่ดิน ผืนที่ได้ทำการขายฝาก ว่าได้ทำการขายฝากเรียบร้อยแล้ว พร้อมระบุระยะเวลาตามสัญญา ที่ได้ตกลงกันระหว่างผู้ทำการขายฝาก เมื่อถึงเวลาที่ครบตามสัญญาแล้ว ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาทำการไถ่ถอนโฉนดที่ดิน ที่ได้นำมาขายฝากได้ ต้องทำการไถ่ถอนโฉนดต่อเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินเท่านั้น หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่ผู้ขายเคยขายฝากกลับมาเป็นเจ้าของโฉนดที่ดินดังกล่าวเหมือนเดิม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้
ขั้นตอนวิธีการ ขายฝากที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ง่ายๆที่ Supsin Property
1.ลงทะเบียน /โทร /แอดไลน์
-ลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในการดำเนินการ
-Line @ : LINE
2.ทีมงานผู้เชี่ยวชาญโทรประมาณทรัพย์
ทีมงานผ้เชียวชาญประเมินทรัพย์ ที่มีประสบการณ์และได้รับมาตรฐาน ให้ทราบถึงข้อมูล มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องการมาค้ำประกัน เพื่อทางทีมงานจะได้ประเมินวงเงินขายฝากที่มีความยุติธรรมแก่ผู้มาค้ำประกันกับ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ของเรา
3.การทำสัญญาที่ กรมที่ดิน
เป็นการทำสัญญาให้ ถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานที่ดิน และทำธุรกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ผู้ขายฝากจะได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย
4.การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์
การตรวจสอบสิทธิ์หรือโฉนดที่ดิน และผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ว่าเป็นที่ดินแปลงไหน มีขอบเขตอย่างไรตรวจเช็คให้ถูกต้องตามที่ลูกค้าซื้อ
5.การให้คำแนะนำในเรื่องของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
การให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจซื้อ และผู้ที่สนใจในการขายที่ดิน ในเรื่องของกฎหมาย การถือครอง การเสียภาษี การโอนกรรมสิทธิ์ และการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ ขอแนะนำข้อดีของการ ขายฝากที่ดิน
1.การขายฝากจะทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ณ สำนักงานที่ดิน จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ว่าจะได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ตามกฎหมาย
2.การอนุมัติสัญญารวดเร็วกว่า การขอสินเชื่อกับธนาคาร
3.ได้วงเงินดีกว่าการไปจำนอง
4.การทำสัญญาฝากขายที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิส เครดิตทางการเงิน หรือ Statement ซึ่งสะดวกสบายและรวดเร็ว
5.หากครบกำหนดแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่คืนที่ดินได้ ผู้ขายฝากอาจทำสัญญาขยายระยะเวลาการไถ่ถอนออกไปก่อนได้ ซึ่งสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 10 ปี
6.ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าจะพ้นกำหนดการไถ่ถอน เว้นแต่ว่าคู่สัญญาจะตกลงกันเป็นประการอื่น
การเสียค่าธรรมเนียมและการเสียภาษีทั้งหมด ที่ควรรู้ก่อนทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
การลงทุนในการซื้อขาย ที่ดิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อทำการปล่อยเช่า หรือการซื้อมาเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด และได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายที่ดินหรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง supsin Property มีคำตอบไปดูกันเลย
1.เสียค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน เพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งคิดเป็นอัตนสร้อยละ 2 จาการคาที่ได้ทำการประเมินหรือจากราคา ราคาประเมิน คือราคาที่ทางรัฐบาลได้ทำการกำหนด ให้เป็นราคากลาง ของอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกินการประเมินเพื่อคิดค่าธรรมเนียมและภาษี จากการซื้อขางที่ดิน หรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ต้องการจะซื้อที่ดินหรือจะขายที่ดิน จะได้ทำการกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในราคาที่ได้ทำการประเมินอาจจะสูงหรือต่ำ กว่าราคาขายจริงก็ได้ ส่วนราคาตลาด คือราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริง ที่สอดคล้องกับอุปสงค์ และอุปทานในแต่ละช่วงเวลา จะมีการปรับตัวขึ้นลงตามค่าครองชีพตลอดเวลา ราคาตลาดจึงมักมีการค่าที่สูงกว่าราคาประเมิน
2.เสียค่าอากรแสตมป์ ค่าอากรแสตมป์คือ ผู้ที่ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำการเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อัตราค่าเสียอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของราคาที่ซื้อขายหรือราคาที่ทำการประเมิน โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ
3.เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ได้ถือครองอังหาริมทรัพย์หรือที่ดินเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี ต้องทำการเสียค่าภาษีเฉพาะ แต่ถ้าหากผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน ได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดค่าเสียภาาีในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาที่ทำการซื้อขายกัน หรือราคาที่ทำการประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ แต่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์
4.เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการขายที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ นั้นถือเป็นรายได้ จึงต้องทำการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยจะใช้ราคาประเมิน ( 40 ( 8 ) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ) และหักด้วยค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529 )