ขายบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

ขายบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

ขายบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

เคยสงสัยไหมว่าถ้าต้องการ ขายบ้าน จะต้องเตรียมตัวกันยังไง เมื่อผู้ซื้อและผู้ขาย ได้ทำการตกลงราคาซื้อขายบ้านและ ที่ดิน ตกลงค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จำเป็นจะต้องทราบขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ดำเนินการ จนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ เปลี่ยนเจ้าของทรัพย์ โดยจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้โอนกรรมสิทธิ์ดังนี้

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ กรณีบุคคลทั่วไป

1. โฉนดที่ดิน ฉบับจริง
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ (เตรียมบัตรจริงไปด้วย)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (เตรียมฉบับจริงไปด้วย)
4. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) กรณีมอบอำนาจ (ไม่สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไปได้)
5. หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดิน (กรณีสมรส)
6. สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (ถ้่้ามี)
7. สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี)
8. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
9. สำเนาทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ กรณีนิติบุคคล

1. โฉนดที่ดินฉบับจริง หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
3. หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์
4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
5. รายการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล
6. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ถือหุ้นในบริษัท
7. รายงานการประชุม
8. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล

ขั้นตอนการซื้อขายบ้านเเละที่ดิน

ว่าแต่ขั้นตอนในช่วงนี้จะมีผู้กระทำอยู่สองฝั่ง นั่นคือ ผู้ซื้อ และผู้ขายนั่นเอง

ในขั้นตอนของฝั่ง ผู้ซื้อ นั้นจะมีวิธีการดังนี้

1. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย วางเงินมัดจำ
2. เตรียมเอกสารและยื่นกู้ธนาคาร
3. ผลอนุมัติเครดิตผู้กู้ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)
4. ธนาคารนัดเข้าประเมินทรัพย์
5. เซ็นต์สัญญาเงินกู้สินเชื่อกับธนาคาร
6. นัดวันโอนกรรมสิทธิ์
7. แจ้งธนาคาร ออกแคชเชียร์เช็ค เพื่อชำระเงินให้กับผู้ขาย
8. เตรียมเงินค่าใช้จ่าย วันโอนกรรมสิทธิ์, เงินชำระส่วนต่าง (กรณีกู้ได้ไม่เต็มยอด)

ในส่วนขั้นตอนของ ผู้ขาย มีดังนี้

1. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย รับเงินมัดจำ
2. ให้สำเนาโฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขายที่ดิน ทด.13 เพื่อยื่นกู้ธนาคาร
3. นัดวันโอนกรรมสิทธิ์
4. ติดต่อธนาคารที่ติดจำนองโฉนด ขอยอดที่ต้องชำระ และนัดวันโอนกรรมสิทธิ์
5. เตรียมเงินค่าใช้จ่าย วันโอนกรรมสิทธิ์

เเต่เดี๋ยวก่อนขั้นตอนของทั้งสองฝั่งยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องทำร่วมกัน นั่นก็คือขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน ซึ่งมีลำดับขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลยถ้าทุกฝ่ายเตรียมเอกสารมาพร้อม มีขั้นตอนดังนี้

1. นำเอกสารที่เตรียมไว้ ยื่นเรื่องติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบเอกสาร และรับคิว
2. เจ้าหน้าที่เรียก ผู้โอนและผู้รับโอน เซ็นต์เอกสารต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าหน้าที่จะประเมินทุนทรัพย์และคำนวณค่าธรรมเนียมโอนต่างๆ เพื่อนำไปชำระที่ฝ่ายการเงิน
4. เมื่อชำระค่าธรรมเนียมโอนเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะสลักหลังโฉนดที่ดิน ตามประเภทของนิติกรรมที่ดำเนินการ (ไถ่ถอน, ขาย, จำนอง)
5. หลังจากสลักหลังโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดิน
6. กรณีที่ผู้รับโอน ทำการกู้เงินกับธนาคาร หลังโฉนดจะแสดงนิติกรรมจำนองล่าสุด ธนาคารจะเก็บโฉนดฉบับจริงไว้ ผู้รับโอนต้องขอถ่ายเอกสารเก็บไว้

เมื่อมีคน ขายบ้าน ให้กับคุณ จะเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เพื่อขอกู้กับธนาคาร

เราเชื่อว่าทุกคนก็มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะซื้อบ้านสักหลัง ก็ต้องมีการวางแผน ดูบ้านที่ถูกใจ บ้านเดี่ยว หรือคอนโด ถ้าเราจะซื้อบ้านแบบกู้ ซึ่งจะต้องเตรียมทั้งเรื่องของรายได้ เงินเก็บสำรอง เครดิตของผู้กู้ และเอกสารต่าง ๆ ที่ธนาคารจะใช้พิจารณาวงเงินสินเชื่อ บทความนี้จะสรุปเอกสารหลักๆ ที่จำเป็นต้องใช้

เอกสารยื่นกู้บ้าน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. เอกสารส่วนบุคคล ของผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน, บัตรประชาชน, สำเนาเปลี่ยนชื่อสกุล, สำเนาทะเบียนสมรส
2. เอกสารรายได้ของผู้กู้ เช่น สลิปเงินเดือน, หนังสือรับรองเงินเดือน, Statement ธนาคาร, หรืออื่นๆ
3. เอกสารหลักประกัน เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน, สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อ.ช.2 (สำหรับซื้อขายคอนโดหรืออาคารชุด), สัญญาจะซื้อจะขาย

แล้ววันนี้ทาง supsin Property มีสาระดีๆ มานำเสนอให้กับผู้สนใจที่อยากจะมีบ้าน เเล้วทำไมถึงยื่นกู้ไม่ผ่าน หรือยื่นกู้ยากทำยังไงก็ไม่ผ่านสักที สามารถนำไปใช้ได้เลย รับรองว่าผ่านฉลุ่ยอย่างแน่นอน

1. ประเมินรายได้ ของผู้กู้และผู้กู้ร่วม
ขั้นตอนแรกก่อนตัดสินใจซื้อบ้านนั้น เราควรจะประเมินรายได้ของตนเองและครอบครัว เพื่อให้การขอวงเงินกู้สอดคล้องกับรายได้ และความสามารถในการผ่อนชำระ ผู้กู้หรือผู้กู้ร่วม จะต้องคำนึงถึงรายได้ทั้งหมดเท่าไร มีรายจ่ายเท่าไร มีผ่อนหนี้สินอะไรบ้าง และมีความสามารถในการผ่อนชำระได้เท่าไร ไม่ควรกู้เกินตัว เพราะการผ่อนบ้านนั้น เป็นการผ่อนระยะยาว 10-30 ปี

2. ประวัติรายได้และการเงิน
พนักงานประจำ มีโอกาสในการขออนุมัติได้ง่ายกว่าคนที่มีอาชีพอิสระ เพราะพนักงานประจำมีสลิปเงินเดือน และมีรายได้ที่เข้าบัญชีแน่นอนในทุก ๆ เดือน ซึ่งถือเป็นหลักฐานแสดงรายได้ที่ชัดเจน ส่วนประวัติทางการเงินที่ดี เพื่อให้การยื่นขอกู้สินเชื่อผ่านได้ง่ายนั้น ควรมีการฝากเงินเข้าบัญชีสม่ำเสมอ และมีเงินเก็บคงเหลือไว้ในบัญชีอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ถ้าประวัติการเงินดี การขอกู้สินเชื่อ ยิ่งทำให้ผ่านง่ายแน่นอน

สำหรับอาชีพอิสระ หรือธุรกิจส่วนตัว เอกสารสำคัญอีกอย่างที่บ่งบอกรายได้ คือ เอกสารการยื่นเสียภาษีเงินได้ ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินจะนำมาเป็นตัววิเคราะห์รายได้หลักของผู้กู้และผู้กู้ร่วม และพิจารณาถึงความสามารถในการผ่อนชำระต่อไป

3. กรณีมีประวัติค้างชำระหนี้ (เครดิตบูโร)
ผู้กู้มีหนี้ค้างชำระ สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลตามจริงไปยังเครดิตบูโร กรณีที่ตรวจสอบและมีประวัติค้างชำระหนี้ สถาบันการเงินจะประเมินว่าผู้กู้ มีโอกาสที่จะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่อาจทำให้การขอกู้นั้นไม่ผ่าน ดังนั้น ผู้กู้ควรจะรีบเคลียร์ชำระหนี้ที่ค้างให้หมด ก่อนจะทำการขอยื่นกู้ เพื่อให้มีโอกาสขอกู้ผ่านได้สูงขึ้นนั่นเอง

4. พยายามงดผ่อนสินค้า หรือสร้างหนี้อื่นๆ ก่อนยื่นขอกู้สินเชื่อ
เป็นไปได้ผู้กู้ควรจะลดหรืองดการผ่อนสินค้า หรือเพิ่มหนี้อื่นๆ ก่อนยื่นกู้ขอสินเชื่อ เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินประเมินความสามารถในการผ่อนชำระได้สูงขึ้น และมีโอกาสได้รับวงเงินกู้ที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

5. เตรียมเอกสารให้พร้อม ก่อนการยื่นขอกู้สินเชื่อ
ก่อนการทำเรื่องขอยื่นกู้ ถ้าผู้กู้มีการวางแผนการเงินที่ดี และเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ครบ ทั้งเอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน, สลิปเงินเดือน, เอกสารประวัติรายได้, Statement บัญชีธนาคาร ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน และเอกสารเกี่ยวกับผู้กู้ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารการเปลี่ยนชื่อ เอกสารใบสมรส ถ้าเอกสารต่างๆ ครบในวันยื่นกู้ ก็จะได้รับการอนุมัติที่เร็วขึ้น

หากต้องการที่จะขายบ้านหรือคอนโด ก็สามารถติดต่อเราได้ที่ https://lin.ee/8meqmjy ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ