หลักที่สำคัญของการขายฝากที่ดินและระยะเวลาในการทำสัญญา

หลักที่สำคัญของการขายฝากที่ดินและระยะเวลาในการทำสัญญา

หลักที่สำคัญของการ ขายฝากที่ดิน 

ขายฝากที่ดิน คือรูปแบบการทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธฺ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันที เมื่อมีการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ระหว่างนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝาก สามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ส่วนผู้รับซื้อฝากจะได้รับประโยชน์แทน ในรูปแบบของการ ควบคุมและกำหนดเพดานดอกเบี้ยสูงสุด ไม่เกิน 15% ต่อปี และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อมีการไถ่ถอน ต้องทำธุรกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น การขายฝากถึงจะสมบูรณ ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ผู้รับซื้อฝากจะให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยถูก หรือวงเงินสูง เป็นต้น เพื่อสนันสนุนการพิจารณาตัดสินใจแก่ผู้ขายฝาก

หลักของการ ขายฝาก ที่ดิน อยู่ที่มีการส่งมอบการครอบครองโดยตรง ให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกรรมสิทธิ์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ขายฝากจะมีกรรมสิทธิ์ที่จะสามารถไถ่ถอนทรัพย์สิน บ้าน หรือที่ดินได้ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ยังฝาก ขายที่ดิน กันอยู่ และกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากอาจจะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำอย่างใดก็ได้ ผู้ขายฝากหรือผู้อื่นไม่มีสิทธิห้ามปรามส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับซื้อฝากกับผู้ขาย จะมีการทำสัญญาลักษณะปีต่อปี เพื่อหลีดเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการฝากขายที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไว้

หลักของการขายฝากที่ดิน อยู่ที่มีการส่งมอบการครอบครองโดยตรง ให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกรรมสิทธิ์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ขายฝากจะมีกรรมสิทธิ์ ที่จะสามารถไถ่ถอนทรัพย์สิน บ้าน หรือที่ดินได้ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ยังฝากขายที่ดินกันอยู่ และกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากอาจจะนำทรัพย์สินดังกล่าว ไปทำอย่างใดก็ได้ ผู้ขายฝากหรือผู้อื่นไม่มีสิทธิห้ามปรามส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายจะมีการทำสัญญาลักษณะปีต่อปี เพื่อหลีดเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการฝากขาย ที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไว้

การลงทุนในการซื้อขาย ที่ดิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อทำการปล่อยเช่า หรือการซื้อมาเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด และได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายที่ดินหรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม

ขายฝากที่ดิน

อัตราค่าตอบแทน และระยะเวลาในการทำสัญญาการ ขายฝากที่ดิน

อัตราค่าตอบแทนการขายฝาก ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 15 % ต่อปี หรือ 1.25 % เดือนนั้นเอง ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้น ซึ่งระยะเวลาที่ให้ขายฝากนั้นทำได้ตั้งแต่ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 1 ปี หรือตามระยะเวลาที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ หากครบกำหนดระยะเวลาแล้วผู้ขายฝากยังไม่ไถ่ถอนได้ สามารถที่จะขยายระยะเวลาได้แต่ระยะเวลาดังกล่าวจะต้องไม่เกิน 10 ปี

ในกรณีที่ทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหารินทรัพย์ การทำสัญญาขายฝากจะต้องไปดำเนินการที่ สำนักงานที่ดินเท่านั้น เพื่อเป็นการทำหนังสือและจดเเจ้งต่อเจ้าหน้าที่

แต่ในการทำสัญญาการขายฝากนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการขายฝาก นั้นต้องทำการโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก ดังนั้นการขายฝากจึงต้องทำการส่งมอบ ทรัพย์สินต่างๆให้แก่ผู้รับซื้อฝาก เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดชำระหนี้หรือการไถ่ถอนตามกำหนดระยะเวลาแล้ว ผู้ขายฝากไม่ทำการชำระหนี้หรือผู้ขายฝาก ไม่ทำการจ่ายหนี้ทรัพย์สิน ที่ทำการฝากขายนั้นจะกลายเป็นของผู้รับฝากโดยทันที ผู้ซื้อฝากสามารถ ยึดทรัพย์ได้ เลยทันที ปรึกษาเพิ่มเติมที่ Line 

ดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ทั้งการขายฝากและการจำนอง คือดอกเบี้ยไม่เกิน 15 % ต่อปี และในการขายฝากและการจำนองนั้น จะต้องไปดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่กรมที่ดินเท่านั้น

ข้อดีในการ ขายฝากที่ดิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

1.มีการทำสัญญาที่กรมที่ดิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2.อนุมัติเร็ว และได้วงเงินหลักประกันหลังการอนุมัติประมาณ 40 – 70 %  ของราคาประเมินตามสัญญา

3.ไม่มีขั้นตอนการเช็ค Statement แต่อย่างใดทำให้สะดวก

4.หากผู้ซื้อยังไม่พร้อมในกานไถ่ถอน สามารถทำสัญญาขยายเวลาไถ่ถอนต่อได้อีกหลายครั้ง แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี ตามที่กฎหมายตั้งไว้

5.การขายฝากจะทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ณ สำนักงานที่ดิน จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ว่าจะได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ตามกฎหมาย

6.การอนุมัติสัญญารวดเร็วกว่า การขอสินเชื่อกับธนาคาร

7.ได้วงเงินดีกว่าการไป ” จำนอง “

8.การทำสัญญาฝากขายที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิส เครดิตทางการเงิน หรือ Statement ซึ่งสะดวกสบายและรวดเร็ว

9.หากครบกำหนดแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่คืนที่ดินได้ ผู้ขายฝากอาจทำสัญญาขยายระยะเวลาการไถ่ถอนออกไปก่อนได้ ซึ่งสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 10 ปี

10.ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าจะพ้นกำหนดการไถ่ถอน เว้นแต่ว่าคู่สัญญาจะตกลงกันเป็นประการอื่น 

เอกสารที่ต้องเตรียมให้เรียร้อยในการขายฝากที่ดิน มีอะไรบ้าง ?

1.โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน ( ตัวจริง ) และบัตรประจำตัวประชาชน ( ตัวจริง ) พร้อมสำเนา

2.เอกสารใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ( ตัวจริง ) พร้อมสำเนา ( ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล )

3.ในกรณีจดทะเบียนสมรส ต้องเตรียมเอกสารหนังสือยินยอม ให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส ในกรณีที่แต่งงานแล้วต้องเตรียมเอกสารใบทะเบียนสมรสมาด้วย หรือในกรณที่มีการหย่าร้าง ต้องทำการเตรียมใบหย่า รวมทั้งเอกสารที่แนบท้ายใบหย่ามาด้วย

ขายฝากที่ดิน

mountain landscape

ขั้นตอนวิธีการขายฝากง่าย ๆ กับ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้

1.ลงทะเบียน /โทร /แอดไลน์

-ลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในการดำเนินการ

-Line @ : LINE

Facebook Page

2.ทีมงานผู้เชี่ยวชาญโทรประมาณทรัพย์

ทีมงานผ้เชียวชาญประเมินทรัพย์ ที่มีประสบการณ์และได้รับมาตรฐาน ให้ทราบถึงข้อมูล มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องการมาค้ำประกัน เพื่อทางทีมงานจะได้ประเมินวงเงินขายฝากที่มีความยุติธรรมแก่ผู้มาค้ำประกันกับ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ของเรา

3.การทำสัญญาที่ กรมที่ดิน

เป็นการทำสัญญาให้ ถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานที่ดิน และทำธุรกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ผู้ขายฝากจะได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย 

การเตรียมเอกสารต่าง ๆ สำหรับการขายบ้าน โอนบ้านและที่ดิน 

สำหรับเป็นบุคคลทั่วไป

  • โฉนดที่ดิน ( ฉบับจริง )
  • บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)
  • ทะเบียนบ้าน ( ตัวจริง ) พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด ( เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง )
  • หนังสือมอบอำนาจ ( ทด.21 ) ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
  • หนังสือให้ความยินยอมซื้อขายที่ดิน หรือที่ดินพร้อมบ้าน (กรณีสมรส )
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับคู่สมรส ( กรณีสมรส )
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส ( กรณีสมรส )
  • สำเนาทะเบียนสมรส ( กรณีสมรส )
  • สำเนาทะเบียนหย่าร้าง ( กรณีหย่าร้าง )

สำหรับนิติบุคคล

  • โฉนดที่ดิน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • เอกสารหนังสือรับรอง การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • เอกสารหนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์
  • เอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในกรณที่เป็นบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด
  • เอกสารแบบรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ในกรณีหุ้นส่วน จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ทำการจดทะเบียนแล้ว
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไทย ที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
  • บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่าง ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
  • รายงานการประชุมนิติบุคคล

One thought on “หลักที่สำคัญของการขายฝากที่ดินและระยะเวลาในการทำสัญญา”

    1. txheemvem qhxyx jsygnwy bsox ulwgwxmikltcjgv

    Add a Comment

    Your email address will not be published.