ภาษีและค่าธรรมเนียมที่ต้องทราบก่อนทำการซื้อขายที่ดิน

ภาษีและค่าธรรมเนียมที่ต้องทราบก่อนทำการซื้อขายที่ดิน

ทำไมถึงต้องรู้ราคาประเมิน ที่ดิน รู้ก่อนเเล้วจะไม่เสีบเปรียบ

ราคาประเมินที่ดิน หมายถึง ราคาประเมินที่ดินจากกรม ที่ดิน โดยกรมธนารักษ์ ราคาประเมินที่ดินนั้นมีความสำคัญ คือราคาที่ดินมีไว้เพื่อให้เป็นราคากลาง สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องเสียตอนทำการซื้อขาย เมื่อมีการซื้อขายที่ดินและการโอนที่ดิน ณ.กรมที่ดิน ยังรวมถึงการเสียภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน และคอนโด

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างๆต่างๆนั้น จะถูกอ้างอิงราคาตามราคาประเมินหรือในบางครั้ง ผู้ซื้อหรือผู้ขายนั้นสามารถใช้เป็นแนวทาง ในการตั้งราคา สำหรับการซื้อขายได้ ดังนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมไปจนถึงนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบ ราคาประเมินที่ดินนั้นด้วย

ปัจจุบันนี้สามารถหา ราคาประเมินที่ดิน ผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้แล้ว มีขั้นตอนที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ทุกคนที่สนใจเข้ามาดู นอกจากจะง่ายแล้ว ยังมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แถมยังประหยัดเวลาอีกด้วย และที่สำคัญนั้นการหา ราคาประเมินที่ดิน ผ่านช่องทางออนไลน์นั้น ไม่ต้องเสียเงินเลย เพียงแค่ผู้ที่สนใจจะเข้าดู ราคาประเมินที่ดิน ต้องมีโฉนดที่ดินที่ต้องการทราบราคาประเมินที่ดินก่อน หรือเลขโฉนดที่ดินแปลงที่ต้องการหา ราคาประเมินที่ดิน เพียงเท่านี้ทุกท่านก็สามารถหาราคาประเมินที่ดินได้แล้ว

ในการขายที่ดิน คุณต้องจ้างตัวแทนเพื่อช่วยคุณค้นหาผู้ซื้อ และยื่นข้อเสนอในนามของคุณ ตัวแทนเหล่านี้จะขอเปอร์เซ็นต์ จากราคาขายที่ดินของคุณ ค่านี้สามารถอยู่ในช่วงตั้งแต่ 2% – 5% ( ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาคิดว่าจะรับได้มากเพียงใด ) ตัวแทนควรจะสามารถให้มากกว่าแค่รายการที่ดิน เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับการตลาดทรัพย์สินของคุณ และการเจรจากับผู้ซื้อ

มีคุณสมบัติมากมายที่ดึงดูดให้ผู้คนลงทุน ตามที่สำนักจัดการที่ดินประมาณร้อยละ 25 ของการทำธุรกรรมที่ดินทั้งหมด จะทำโดยไม่ต้องโอนทรัพย์สินทางกายภาพ หรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ในกรณีนี้ ผู้ขายจะได้รับเช็คจากผู้ซื้อ เป็นรูปแบบการชำระเงิน ในการขายที่ดินให้ได้ราคาดี ผู้ขายควรพิจารณาการขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ตลอดจนหาผู้ลงทุนที่เต็มใจจะใช้ทรัพย์สินของตน เพื่อการค้าหรือเพื่อที่อยู่อาศัย

การขายที่ดินไม่ได้จำกัดอยู่แค่ พ่อค้าคนกลางแบบดั้งเดิมอีกต่อไป  นายหน้าและตัวแทน ตอนนี้การขายที่ดินทำทางออนไลน์ หรือผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแทน พ่อค้าคนกลางยังคงมีบทบาท สำคัญในตลาดการขายที่ดิน

การปฏิวัติทางดิจิทัลและเทคโนโลยี ขั้นสูงทำให้เกิดเครื่องมือใหม่ ที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ราบรื่น และประหยัดเวลาสำหรับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย แพลตฟอร์มที่ใหม่กว่าทำให้ผู้ขายแต่ละราย สามารถขายอสังหาริมทรัพย์ของตนได้ ในราคาที่ต้องการ ซึ่งน่าสนใจเพียงพอสำหรับผู้ซื้อ ที่คาดหวังที่กำลังมองหาบ้านที่ดีโดยไม่ต้องกังวล กับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูง หรือขาดรายการที่มีคุณภาพบนแพลตฟอร์มต่างๆ

ภาษีและค่าธรรมเนียม ที่ต้องทราบก่อนทำการซื้อขาย ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด

การลงทุนในการซื้อขาย ที่ดิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อทำการปล่อยเช่า หรือการซื้อมาเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด และได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายที่ดินหรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง supsin Property มีคำตอบไปดูกันเลย

  • เสียค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน เพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งคิดเป็นอัตนสร้อยละ 2 จาการคาที่ได้ทำการประเมินหรือจากราคา ราคาประเมิน คือราคาที่ทางรัฐบาลได้ทำการกำหนด ให้เป็นราคากลาง ของอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกินการประเมินเพื่อคิดค่าธรรมเนียมและภาษี จากการซื้อขางที่ดิน หรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ต้องการจะซื้อที่ดินหรือจะขายที่ดิน จะได้ทำการกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในราคาที่ได้ทำการประเมินอาจจะสูงหรือต่ำ กว่าราคาขายจริงก็ได้ ส่วนราคาตลาด คือราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริง ที่สอดคล้องกับอุปสงค์ และอุปทานในแต่ละช่วงเวลา จะมีการปรับตัวขึ้นลงตามค่าครองชีพตลอดเวลา ราคาตลาดจึงมักมีการค่าที่สูงกว่าราคาประเมิน
  • เสียค่าอากรแสตมป์ ค่าอากรแสตมป์คือ ผู้ที่ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำการเสีย ในขั้นตอนการจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ อัตราค่าเสียอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของราคาที่ซื้อขายหรือราคาที่ทำการประเมิน โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ
  • เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ได้ถือครองอังหาริมทรัพย์หรือที่ดินเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี ต้องทำการเสียค่าภาษีเฉพาะ แต่ถ้าหากผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน ได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดค่าเสียภาาีในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาที่ทำการซื้อขายกัน หรือราคาที่ทำการประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ แต่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์
  • เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ นั้นถือเป็นรายได้ จึงต้องทำการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยจะใช้ราคาประเมิน ( 40 ( 8 ) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ) และหักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529 )

ขั้นตอนการซื้อ ขายบ้าน และที่ดิน ที่ต้องทราบก่อนทำการซื้อขาย

สำหรับผู้ซื้อ

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย การวางเงินมัดจำ

2.เตรียมเอกสารสำคัญ สำหรับการยื่นกู้ธนาคาร

3.ผลการอนุมัติเครดิตของผู้กู้ว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน

4.ทางธนาคารจะนัดเข้ามาประเมินทรัพย์

5.ทำการเซ็นสัญญาเงินกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร

6.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

7.แจ้งทางธนาคาร ให้ออกเเคชเชียร์เช็ค เพื่อทำการชำระเงินให้กับผู้ขาย

8.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี วันที่ทำการโอนกรรมสิทธิ์ และเงินชำระส่วนต่างๆ ในกรณีกู้ได้ไม่เต็มยอด

สำหรับผู้ขาย

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย รับเงินมัดจำ

2.ให้สำเนาโฉนดที่ดิน สัญญาขายที่ดิน ทด.13 เพื่อทำการยื่นกู้กับทางธนาคาร

3.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

4.ทำการติดต่อกับธนาคารที่ติดจำนองโฉนด ขอยอดที่ต้องชำระ และทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

5.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี มาในวันโอนกรรมสิทธิ์

วันนี้เรามีทางออกให้กับท่านเเล้ว พื้นที่สำหรับการซื้อขาย บ้าน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เว็บของเราได้เลยฟรีๆ ติดต่อได้ที่ Line@  หรือทาง Fanpage facebook ที่นี่ หรือจะลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บได้เลย

โดยเราได้มีทีมงานผ้เชียวชาญประเมินทรัพย์ ที่มีประสบการณ์และได้รับมาตรฐาน ให้ทราบถึงข้อมูล มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องการมาค้ำประกัน เพื่อทางทีมงานจะได้ประเมินวงเงินขายฝากที่มีความยุติธรรมแก่ผู้มาค้ำประกันกับ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ของเรา