ที่ดิน นั้นต้องเสียภาษีและเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ?

ที่ดิน นั้นต้องเสียภาษีและเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ?

ระหว่างการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อขาย ที่ดิน นั้นต้องเสียภาษีและเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ?

การลงทุนในการซื้อขาย บ้าน ที่ดิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อทำการปล่อยเช่า หรือการซื้อมาเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด และได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายที่ดินหรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง 

1.เสียค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน เพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งคิดเป็นอัตนสร้อยละ 2 จาการคาที่ได้ทำการประเมินหรือจากราคา ราคาประเมิน คือราคาที่ทางรัฐบาลได้ทำการกำหนดให้เป็นราคากลาง ของอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกินการประเมิน เพื่อคิดค่าธรรมเนียมและภาษี

จากการซื้อขางที่ดินหรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ต้องการจะซื้อที่ดินหรือจะขายที่ดิน จะได้ทำการกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในราคาที่ได้ทำการประเมินอาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาขายจริงก็ได้ ส่วนราคาตลาด คือราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริง ที่สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทาน ในแต่ละช่วงเวลา จะมีการปรับตัวขึ้นลง ตามค่าครองชีพตลอดเวลา ราคาตลาดจึงมักมีการค่าที่สูงกว่าราคาประเมิน

2.เสียค่าอากรแสตมป์ ค่าอากรแสตมป์คือ ผู้ที่ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำการเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อัตราค่าเสียอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของราคาที่ซื้อขายหรือราคาที่ทำการประเมิน โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ

3.เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ได้ถือครองอังหาริมทรัพย์หรือที่ดินเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี ต้องทำการเสียค่าภาษีเฉพาะ แต่ถ้าหากผู้ถือครอง อสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน ได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดค่าเสียภาาีในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาที่ทำการซื้อขายกัน หรือราคาที่ทำการประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ แต่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์

4.เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ นั้นถือเป็นรายได้ จึงต้องทำการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยจะใช้ราคาประเมิน ( 40 ( 8 ) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ) และหักด้วยค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529 ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Supsin

การโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับการซื้อขาย ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด

ในส่วนของผู้ซื้อ หากไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยเงินสด และจำเป็นต้องทำการกู้เงินกับทางธนาคาร ให้ทางผู้ซื้อขอสำเนา เอกสารหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) จากผู้ขาย เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปยื่นเรื่องเสนอขออนุมัติวงเงินกู้ จากทางธนาคารที่จะทำการกู้ก่อน ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้

ในส่วนของผู้ขาย หากเป็นการขายคอนโดมือสอง ที่ยังคงติดจำนองอยู่หรือยังทำการผ่อนกับธนาคารอยู่ ให้แจ้งกับทางธนาคารเก่าที่ทำการกู้ เพื่อขอทำเรื่องปิดบัญชีขายหลักประกัน ทางธนาคารจะทำการสรุปยอดเงิน ที่จะต้องจ่ายคืนมาให้กับผู้จะขาย จากนั้นทางผู้ขายก็ต้องทำการแจ้งจำนวนเงิน ค่าไถ่หลักประกันดังกล่าวแก่ผู้ซื้อ เพื่อทำเช็คตามจำนวนเงินที่แจ้งนี้ 1 ใบ ในส่วนของเงินที่เป็นกำไร ของผู้ขายให้ทำอีก 1 ใบ หรือจะทำการจ่ายเป็นเงินสดก็ได้ แล้วแต่ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำการตกลงกัน

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ของผู้ที่จะทำการขายอสังหาริมทรัพย์ บ้าน คอนโด หรือคอนโดมือสองนั้น ผู้จะขายจะต้องทำการเคลียร์หนี้ต่างๆ เช่น ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าส่วนกลาง ที่มีกับนิติบุคคลของคอนโดให้หมดก่อน เพื่อจะได้ขอใบปลอดหนี้ ที่มีลายเซ็นต์ผู้จัดการนิติบุคคลของคอนโด เนื่องจากหากไม่มีใบปลอดหนี้นั้น จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และใบปลอดหนี้ที่ได้รับจากทางนิติบุคคล ของคอนโดมานั้นจะมีอายุเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ ควรที่จะคำนวณนัดหมายวันโอนให้ดี เพื่อไม่ให้ใบปลอดหนี้นั้นหมดอายุไปเสียก่อน

ผู้จะซื้อและผู้จะขาย ต้องนัดพบกันที่สำนักงานที่ดิน ในเขตที่คอนโดได้ตั้งอยู่ และทำสัญญาซื้อขายกัน โดยเป็นแบบสัญญาการซื้อขาย ซึ่งจะเป็นสัญญาคนละฉบับ กับสัญญาจะซื้อจะขาย ในการสัญญาจะซื้อจะขายนี้ จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น เนื่องจากจะต้องใช้แบบฟอร์มเอกสาร เฉพาะของกรมที่ดินเท่านั้น เมื่อเอกสารในการทำสัญญา ซื้อขายครบทุกอย่างแล้ว จะมีการดำเนินการทั้งหมด 4 ฝ่าย ได้แก่ 

  • ผู้ซื้อ 
  • ผู้ขาย 
  • ธนาคารเก่า (ของผู้ขาย) 
  • ธนาคารใหม่ (ของผู้ซื้อ) 

ในการขายที่ดิน คุณต้องจ้างตัวแทนเพื่อช่วยคุณค้นหาผู้ซื้อ และยื่นข้อเสนอในนามของคุณ ตัวแทนเหล่านี้จะขอเปอร์เซ็นต์ จากราคาขายที่ดินของคุณ ค่านี้สามารถอยู่ในช่วงตั้งแต่ 2% – 5% (ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาคิดว่าจะรับได้มากเพียงใด) ตัวแทนควรจะสามารถให้มากกว่าแค่รายการที่ดิน เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับการตลาดทรัพย์สินของคุณ และการเจรจากับผู้ซื้อ ปรึกษาได้ที่ supsin Property

ขั้นตอนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับ Supsin Property

ขั้นตอนการซื้อที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยเริ่มต้น ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายและสิ้นสุด ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่เสร็จสมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้ว ข้อตกลงมีสองประเภท ตัวเลือกในการซื้อ และสัญญาจะซื้อ หลายคนชอบสัญญาเนื่องจาก สัญญานั้นสามารถยกเลิกได้ตลอดเวลาโดยไม่มีค่าปรับ แต่ตัวเลือกไม่สามารถยกเลิกได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ขาย และโดยปกติแล้วจะต้องใช้สิทธิ์ภายในวันที่กำหนด หลังจากลงนามในสัญญาแล้ว เป็นเรื่องปกติที่ผู้ซื้อจะวางเงิน ประกันราคาซื้อที่ดิน

1.ลงทะเบียน /โทร /แอดไลน์

-ลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในการดำเนินการ

-Line @ : LINE

Facebook Page

2.ทีมงานผู้เชี่ยวชาญโทรประมาณทรัพย์

ทีมงานผ้เชียวชาญประเมินทรัพย์ ที่มีประสบการณ์และได้รับมาตรฐาน ให้ทราบถึงข้อมูล มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องการมาค้ำประกัน เพื่อทางทีมงานจะได้ประเมินวงเงินขายฝากที่มีความยุติธรรมแก่ผู้มาค้ำประกันกับ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ของเรา

3.การทำสัญญาที่ กรมที่ดิน

เป็นการทำสัญญาให้ ถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานที่ดิน และทำธุรกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ผู้ขายฝากจะได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย

4.การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ 

การตรวจสอบสิทธิ์หรือโฉนดที่ดิน และผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ว่าเป็นที่ดินแปลงไหน มีขอบเขตอย่างไรตรวจเช็คให้ถูกต้องตามที่ลูกค้าซื้อ

5.การให้คำแนะนำในเรื่องของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

การให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจซื้อ และผู้ที่สนใจในการขายที่ดิน ในเรื่องของกฎหมาย การถือครอง การเสียภาษี การโอนกรรมสิทธิ์ และการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ

Add a Comment

Your email address will not be published.