สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการกู้เงินร่วมกันในการซื้อบ้าน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการกู้เงินร่วมกันในการซื้อบ้าน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการกู้เงินร่วมกันในการซื้อ บ้าน

สำหรับใครที่กำลังจะมีแพลนคิดจะมี บ้าน หากจะทำการยื่นกู้ร่วมกันซื้อบ้าน เพื่อที่จะให้ทางธนาคาร ได้ทำการอนุมัตได้ง่ายขึ้น วันนี้ ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้ ขอแนะนำข้อดีและข้อควรระมัดระวัง ในการกู้ร่วมซื้อบ้านไปดูกันเลย supsin Property

การกู้ร่วม คือการทำสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินร่วมกัน หรือทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน เป็นการค้ำประกันให้อีกฝ่าย เพื่อทางธนาคารจะทำการอนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะมีผู้รับผิดชอบในการชำระหนี้ ทำให้ทางธนาคารนั้นอนุมัติการขอสิ้นเชื่อในการกู้ได้ง่ายขึ้น

การกู้ร่วมซื้อบ้านนั้น ไม่ว่าจะกู้ร่วมซื้อบ้านกับใคร เราควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน ทั้งเรื่องพฤติกรรมของผู้ที่จะทำการกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่จะเปิดปัญหาในภายหลัง

บ้าน

ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน 

  • ขออนุมัติสินเชื่อกับทางธนาคารได้ง่ายขึ้น
  • สามารถทำการเพิ่มวงเงินในการกู้ได้มากขึ้น
  • ช่วยกระจายความเสี่ยงในการชำระหนี้ได้มากขึ้น
  • สามารถสร้างความน่าเชื่อถือกับทางธนาคารได้มากยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการกู้ร่วมซื้อบ้าน

  • ในการกู้ร่วมนั้นเป็นการช่วยกันชำระหนี้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำการชำระหนี้ อีกฝ่ายต้องทำการชำระหนี้นั้นแทนอีกฝ่าย
  • หากจะทำการถอนผู้กู้ร่วมกัน มักจะทำได้ยาก เนื่องจากทางธนาคารจะทำการพิจารณา ว่าผู้กู้คนเดียวจะสามารถผ่อนชำระหนี้ทั้งหมด เพียงผู้เดียวได้หรือไม่
  • หากได้ทำการกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านทั้ง 2 ฝ่าย หากมีปัญหาในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย
  • หากผู้กู้ร่วมทั้ง 2 ฝ่าย นั้นจะนำดอกเบี้ยบ้านไปทำการลดหย่อนภาษี จะทำต้องถูกหารเฉลี่ยตามจำนวนของผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน
  • หากต้องการที่จะทำการายบ้านที่กู้ร่วมกัน จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ทั้ง 2 ฝ่าย

คุณสมบัติของผู้ที่สนใจกู้ร่วมซื้อ บ้าน มีดังต่อไปนี้

1.ผู้กู้จะต้องมีหลักฐานรายได้ที่ชัดเจน

2.ผู้กู้นั้นจะต้องมีประวัติการชำระหนี้ที่ตรงเวลามาก่อน

3.ผู้กู้ร่วมจะต้องมีรายได้เพียงพอ ที่จะร่วมรับผิดชอบของภาระหนี้กับผู้กู้ได้

4.ผู้กู้ควรที่จะทำการกู้กับคนในครอบครัวเดียวกัน เช่น พ่อ เเม่ หรือสามีภรรยาที่ทำการจดทะเบียนสมรสกันแล้ว หากเป็นคู่รักที่ยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสร่วมกัน อาจมีปัญหาในการโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง

บ้าน

Solar panels on the roof of the modern house,Harvesting renewable energy with solar cell panels,Exterior design,3d rendering

ขั้นตอนการซื้อขายบ้าน และ ที่ดิน มีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างไร

สำหรับผู้ซื้อ

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย การวางเงินมัดจำ

2.เตรียมเอกสารสำคัญ สำหรับการยื่นกู้ธนาคาร

3.ผลการอนุมัติเครดิตของผู้กู้ว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน

4.ทางธนาคารจะนัดเข้ามาประเมินทรัพย์

5.ทำการเซ็นสัญญาเงินกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร

6.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

7.แจ้งทางธนาคาร ให้ออกเเคชเชียร์เช็ค เพื่อทำการชำระเงินให้กับผู้ขาย

8.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี วันที่ทำการโอนกรรมสิทธิ์ และเงินชำระส่วนต่างๆ ในกรณีกู้ได้ไม่เต็มยอด

สำหรับผู้ขาย

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย รับเงินมัดจำ

2.ให้สำเนาโฉนดที่ดิน สัญญาขายที่ดิน ทด.13 เพื่อทำการยื่นกู้กับทางธนาคาร

3.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

4.ทำการติดต่อกับธนาคารที่ติดจำนองโฉนด ขอยอดที่ต้องชำระ และทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

5.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี มาในวันโอนกรรมสิทธิ์

ขั้นตอนการโอนที่ดิน บ้าน และอสังหาริมทรัพย์

1.เตรียมเอกสารเพื่อทำการยื่นเรื่อง ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจสอบเอกสาร ที่ต้องใช้ในการโอน เมื่อแล้วเสร็จเจ้าหน้าที่จะให้บัตรคิว หลังจากนั้นก็รอเจ้าหน้าที่เรียกตามคิวที่ได้รับ แนะนำให้ไปก่อนเวลาเปิดทำการ 8.00 น. เนื่องจากคนค่อนข้างเยอะ อาจจะใช้เวลาในการรอคิว

2.เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงานเรียก ให้ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนเซ็นเอกสาร ทั้งหมดต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น

3.หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ จะทำการประเมินทุนทรัพย์ และคำนวณค่าธรรมเนียมโอนทั้งหมด พร้อมทั้งยื่นใบคำนวณค่าโอนให้ เพื่อนำไปชำระค่าโอนที่ฝ่ายการเงิน

4.ต่อมาเป็นการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการโอนที่ฝ่ายการเงิน เมื่อชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ใบเสร็จ 2 ใบ สีฟ้ากับสีเหลือง ให้นำใบเสร็จสีเหลืองคืนเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงานที่เซ็นเอกสาร ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ถ่ายสำเนาให้ผู้ซื้ออีก 1ชุด เก็บไว้

5.ขั้นตอนสุดท้าย เจ้าหน้าที่พิมพ์สลักหลังโฉนดแล้ว รอรับโฉนดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ให้แก่ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อ เป็นอันเสร็จสิ้นการโอนที่ดิน บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ โฉนดนั้นก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธ์ เป็นของผู้รับโอนหรือผู้ซื้อเรียบร้อยตามกฎหมาย

การทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด เช่นบ้าน ที่ดินและ คอนโด

ในการซื้อขายอสังหาสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย บ้าน ที่ดิน คอนโดใหม่ หรือ คอนโดมือสอง นั้นแน่นอนว่า เมื่อมีการตกลงในเรื่องของราคากันเป็นที่พอใจ และเป็นที่รับรู้ของทั้งสองฝ่ายแล้ว จะต้องทำการนัดหมายกัน เพื่อทำสัญญาการซื้อขายคอนโดมือสอง แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนดังกล่าวนั้น จะต้องมีขั้นตอนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายกันก่อน ทรัพย์สิน พร็อพเพอร์ตี้

เพื่อเป็นการทำข้อตกลงกันทางวาจา ของผู้ซื้อและผู้ขายคอนโด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันการผิดสัญญาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ผู้ซื้ออาจมีการเปลี่ยนใจ ไม่ซื้อคอนโดดังกล่าวแล้ว ทำให้ผู้ขายคอนโดพลาดโอกาส การขายคอนโดให้กับรายอื่น หรือ ผู้ขายอาจนำสินทรัพย์ดังกล่าว ไปขายให้กับผู้ซื้อรายอื่นที่เสนอราคาให้สูงกว่าก็อาจจะเป็นได้ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายได้ที่ Line

ในการทำแบบสัญญาจะซื้อจะขาย คอนโดมือสองหรืออสังหาริมทรัพย์ ในเอกสารสัญญาการซื้อขายควรที่จะมีสิ่งที่ต้องระบุไว้ ดังต่อไปนี้

  • ถ้า ผู้จะซื้อ ไม่มาโอนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือที่ตกลงกันไว้กับผู้จะขาย ให้ผู้จะขายยึดเงินมัดจำทั้งหมดได้ ในส่วนของเรื่องเงินมัดจำก็แล้วแต่ทั้ง 2 ฝ่ายจะตกลงกัน
  • กลับกันเมื่อถึงวันนัด ผู้จะขาย เกิดเปลี่ยนใจไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ไม่ยอมขายคอนโดก็ต้องโดนผู้จะซื้อปรับเงินเป็นกี่เท่าของเงินมัดจำ
  • ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการโอน ให้ผู้จะซื้อและผู้จะขายตกลงกันตั้งแต่แรก ว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องการโอน
  • การกำหนดวันโอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววันที่จะโอนนั้น จะประมาณ 1 เดือนหลัง นับตั้งแต่วันทำสัญญานี้เสร็จสิ้น

ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องเตรียมในวันโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีดังนี้

  1. ค่าธรรมเนียมการโอน ปกติ 2%ของราคาประเมิน
  2. ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขายคอนโด 
  3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อันนี้การคำนวณละเอียดหน่อย ขึ้นอยู่กับราคาประเมินและจำนวนปีที่ผู้ขายถือครองมา ภาระนี้ปกติจะเป็นของผู้ขาย
  4. ค่าจดจำนอง(ใหม่) 1% ตอนนี้ก็มีโปรโมชั่นเช่นกันเหลือ 0.01% อันนี้เป็นภาระของผู้ซื้อ
  5. ค่าอื่นๆ 

ในกรณีที่ทำการซื้อคอนโดมือสองมาไม่ถึง 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี จะต้องจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมินด้วย (ถ้าเสียภาษีนี้แล้วไม่ต้องเสียค่าอากร 0.5%) ค่าต่างๆ เหล่านี้ ต้องระบุให้แน่ชัดตั้งแต่วันเซ็นต์แบบสัญญา การซื้อขายคอนโดมือสอง ว่าใครจะเป็นคนจ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าภาษีซึ่งมากที่สุดในค่าใช้จ่ายทั้งหมด

Add a Comment

Your email address will not be published.