ขายที่ดิน สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลจริงหรือ?

ขายที่ดิน สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลจริงหรือ?

ความรู้ในการซื้อ ขายที่ดิน ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

การซื้อ ขายที่ดิน เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเป็นอย่างแรก ที่ดิน คือทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นทรัพย์สินที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต และยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้อีก ที่ดินนั้นไม่สามารถที่จะหาสินค้าใดมาทดเเทนได้

ดังนั้น การ ซื้อขาย ที่ดิน มาเพื่อการทำกำไรหรือนำไปขายต่อ จึงสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม การ “ขายที่ดิน” ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นศึกษาการซื้อขายที่ดินให้ละเอียดก่อน ต้องอาศัยความรอบคอบและความเข้าใจเรื่องการมองอนาคตทำเลที่แม่นยำด้วย โดยก่อนขายที่ดินนั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรต้องรู้ เนื่องจากกระบวนการซื้อขานที่ดินนั้น มีกระบวนการและขั้นตอนที่การซื้อ ตามกฎหมายการซื้อขายที่ดิน จึงต้องทำการศึกษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ดังนั้น ก่อนจะขายที่ดินนั้น จึงต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการซื้อขายที่ดิน และกฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน ที่ให้รอบด้าน และต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลต่างๆมาทำการวิเคราะห์และเจาะลึกข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการประกอบการตัดสินใจ และการวางแผนในการตั้งราคาการซื้อขาย ให้มีประสิทธิภาพและสมเหตุสมผลมากที่สุด สำหรับใครที่ต้องการสอบถามข้อมูลในการซื้อขาย สามารถติดต่อได้ที่ LINE 

การซื้อ ขายที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ ต้องรู้เรื่องภาษีและค่าธรรมเนียมด้วย

การลงทุนในการซื้อขาย ที่ดิน หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อทำการปล่อยเช่า หรือการซื้อมาเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด และได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายที่ดินหรือ การขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง supsin Property มีคำตอบไปดูกันเลย

  1. เสียค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน เพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งคิดเป็นอัตนสร้อยละ 2 จาการคาที่ได้ทำการประเมินหรือจากราคา ราคาประเมิน คือราคาที่ทางรัฐบาลได้ทำการกำหนดให้เป็นราคากลาง ของอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกินการประเมินเพื่อคิดค่าธรรมเนียมและภาษี จากการซื้อขางที่ดินหรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ต้องการจะซื้อที่ดินหรือจะขายที่ดิน จะได้ทำการกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในราคาที่ได้ทำการประเมินอาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาขายจริงก็ได้ ส่วนราคาตลาด คือราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริงที่สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานในแต่ละช่วงเวลา จะมีการปรับตัวขึ้นลงตามค่าครองชีพตลอดเวลา ราคาตลาดจึงมักมีการค่าที่สูงกว่าราคาประเมิน
  2. เสียค่าอากรแสตมป์ ค่าอากรแสตมป์คือ ผู้ที่ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำการเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อัตราค่าเสียอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของราคาที่ซื้อขายหรือราคาที่ทำการประเมิน โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ
  3. เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ต้องการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ได้ถือครองอังหาริมทรัพย์หรือที่ดินเป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี ต้องทำการเสียค่าภาษีเฉพาะ แต่ถ้าหากผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดิน ได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดค่าเสียภาาีในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาที่ทำการซื้อขายกัน หรือราคาที่ทำการประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ แต่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์
  4. เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ นั้นถือเป็นรายได้ จึงต้องทำการนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยจะใช้ราคาประเมิน ( 40 ( 8 ) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร ) และหักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529 ) สอบถามเพิ่มเติม

ขั้นตอนการซื้อ ขายบ้าน และที่ดิน มีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างไร

สำหรับผู้ซื้อ

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย การวางเงินมัดจำ

2.เตรียมเอกสารสำคัญ สำหรับการยื่นกู้ธนาคาร

3.ผลการอนุมัติเครดิตของผู้กู้ว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน

4.ทางธนาคารจะนัดเข้ามาประเมินทรัพย์

5.ทำการเซ็นสัญญาเงินกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร

6.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

7.แจ้งทางธนาคาร ให้ออกเเคชเชียร์เช็ค เพื่อทำการชำระเงินให้กับผู้ขาย

8.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี วันที่ทำการโอนกรรมสิทธิ์ และเงินชำระส่วนต่างๆ ในกรณีกู้ได้ไม่เต็มยอด

สำหรับผู้ขาย

1.การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย รับเงินมัดจำ

2.ให้สำเนาโฉนดที่ดิน สัญญาขายที่ดิน ทด.13 เพื่อทำการยื่นกู้กับทางธนาคาร

3.นัดวันเพื่อทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

4.ทำการติดต่อกับธนาคารที่ติดจำนองโฉนด ขอยอดที่ต้องชำระ และทำการนัดโอนกรรมสิทธิ์

5.เตรียมเงิน ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี มาในวันโอนกรรมสิทธิ์

หลักการสำคัญของการ ขายฝาก ที่ดิน

การขายฝากบ้าน คือ การทำนิติกรรมการ ซื้อ – ขาย บ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์ของบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น จะตกไปยังผู้ซื้อ ( ผู้รับขายฝาก ) โดยผู้ขายนั้นสามารถนำเงินมาไถ่ถอน หรือ ซื้อบ้าน คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามในสัญญาการซื้อขาย โดยระยะเวลาสูงสุดตามกฎหมายนั้นไม่เกิน 10 ปี การขายฝากบ้านมีข้อดีของ การขายฝากนั้น คือวงเงินที่ทำการกู้นั้นที่จะได้รับโดยส่วนใหญ่ จะเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ ของ มูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งต่างจาก การจำนอง ที่ยอดเงินกู้จะเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

คือรูปแบบการทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธฺ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันที เมื่อมีการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ระหว่างนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝาก สามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ส่วนผู้รับซื้อฝากจะได้รับประโยชน์แทน ในรูปแบบของการ ควบคุมและกำหนดเพดานดอกเบี้ยสูงสุด ไม่เกิน 15 % ต่อปี และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อมีการไถ่ถอน ต้องทำธุรกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น การขายฝากถึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ผู้รับซื้อฝากจะให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยถูก หรือวงเงินสูง เป็นต้น เพื่อสนันสนุนการพิจารณาตัดสินใจแก่ผู้ขายฝาก

หลักของการ ขายฝาก ที่ดิน อยู่ที่มีการส่งมอบการครอบครองโดยตรง ให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกรรมสิทธิ์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ขายฝากจะมีกรรมสิทธิ์ ที่จะสามารถไถ่ถอนทรัพย์สิน บ้าน หรือที่ดินได้ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ยังฝาก ขาย ที่ดิน กันอยู่ และกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากอาจจะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำอย่างใดก็ได้ ผู้ขายฝากหรือผู้อื่นไม่มีสิทธิห้ามปรามส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับซื้อฝากกับผู้ขายจะมีการทำสัญญาลักษณะปีต่อปี เพื่อหลีดเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการฝากขาย ที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไว้